ยังคงมีการขยายตัวอย่างต่อเนื่องสำหรับตลาดคราฟท์เบียร์ (Craft beer)อาเซียน ซึ่งประเทศที่ยังครองแชมป์เจ้าตลาดคราฟท์เบียร์ยังคงเป็นของ “เวียดนาม” จากปริมาณการดื่มและการผลิตที่ปรับตัวเพิ่มสูงขึ้นอย่างต่อเนื่อง ส่งผลให้เวียดนามถูกยกให้เป็นเมืองหลวงคราฟท์เบียร์อาเซียน
จากข้อมูลในปี 2022 ปริมาณการดื่มเบียร์ของประชากรเวียดนาม คิดเป็น 2.2% ของตลาดโลก หรือประมาณ 3,800 ล้านลิตร นั่งแท่นอันดับ 1 ในภูมิภาคอาเซียน และเป็นอันดับที่ 2 ในภูมิภาคเอเชีย รองจากเกาหลีใต้
การขยายตัวของตลาดคราฟท์เบียร์ที่เกิดขึ้นดังกล่าว ทำให้เวียดนามได้เครื่องการันตีความสำเร็จระดับสากลในฐานะเป็นผู้ผลิตคราฟท์เบียร์ในเวทีโลก ด้วย 4 รางวัลเหรียญทองจาก World Beer Awards 2020 และ 1 รางวัลเหรียญทองแดง จาก Asia Beer Championships 2021 จากความสำเร็จดังกล่าวทำให้การส่งออกคราฟท์เบียร์ของเวียดนามไปจำหน่ายทั่วอเมริกา ยุโรป และเอเชียมีสัดส่วนเพิ่มขึ้น
สำหรับปัจจัยที่ทำให้เวียดนามประสบความสำเร็จในการบุกตลาดคราฟท์เบียร์ โดยเฉพาะด้านการผลิต คือ เวียดนามมีวัตถุดิบท้องถิ่นที่นำมาใช้เป็นส่วนประกอบในการผลิตคราฟท์เบียร์ที่หลากหลายมากกว่า 70 ชนิด อาทิ กาแฟ , ช็อคโกแลต ,ตะไคร้ ,เครื่องเทศต่างๆ และทุเรียน ฯลฯ
นอกจากนี้ รัฐบาลเวียดนามยังมีกฎระเบียบและขั้นตอนในการตั้งธุรกิจประเภทนี้ไม่ยุ่งยาก โดยเฉพาะการไม่กำหนดปริมาณหรือกำลังการผลิตขั้นต่ำ จึงเปิดช่องให้ผู้ผลิตรายเล็กเริ่มต้นธุรกิจอย่างจริงจังได้ง่ายขึ้น
อย่างไรก็ดี แม้ว่าจะเปิดกว้าง แต่ผู้ผลิตรายย่อยก็มีความเสี่ยงที่ต้องเผชิญ คือ ราคาขายที่แพงกว่าเมื่อเทียบกับเบียร์ท้องตลาดทั่วไป แต่ถึงแม้ว่าจะมีจุดด้อยดังกล่าว แต่รายเล็กก็มีจุดขายสำคัญ คือ รสชาติ กรรมวิธีการผลิต และรสนิยมในการดื่มของคนรุ่นใหม่ สิ่งดังกล่าวจึงทำให้ตลาดคราฟท์เบียร์ของเวียดนามยังเติบโตได้
อีกหนึ่งประเทศที่น่าจับตามองสำหรับตลาดคราฟท์อาเซียน คือ ฟิลิปปินส์ เนื่องจากการดื่มแอลกอฮอล์ของฟิลิปปินส์เป็นเรื่องปกติ ทำให้มีวัฒนธรรมการดื่มที่ถูกเรียกเป็นภาษาตากาล๊อกว่า “Laklak และ Inuman Na” เห็นได้จากการสังสรรค์ในกลุ่มเพื่อน วันเกิด หรือเทศกาลต่างๆ ทำให้ชาวฟิลิปปินส์มีการใช้จ่ายสำหรับเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ค่อนข้างสูง โดยเบียร์ถือเป็นเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ที่มีความนิยมมากที่สุด มีส่วนแบ่งการตลาดอยู่ที่ 72% (ประมาณ 2.1 พันล้านลิตร) ซึ่งประเภทของเบียร์ที่คนฟิลิปปินส์นิยมดื่มกันเพิ่มขึ้นเรื่อยๆ คือ คราฟท์เบียร์
จากการขยายตัวที่เพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง ส่งผลให้มีการณ์คาดการณ์ว่าภาพรวมตลาดเบียร์ของฟิลิปปินส์ในปี 2569 น่าจะมีมูลค่ายอดอยู่ที่ประมาณ 413,810.3 ล้านเปโซ หรือเพิ่มขึ้นประมาณ 30% จากปี 2565
ส่วนตลาดเบียร์ในประเทศไทย ซึ่งปัจจุบันมีมูลค่าอยู่ที่ประมาณ 2.6 แสนล้านบาท ปี 2567 นี้คาดว่าจะชะลอตัว เนื่องจากเศรษฐกิจยังไม่ฟื้นตัวกลับเข้าสู่ภาวะปกติ ส่งผลให้ผู้บริโภคยังคงระมัดระวังในเรื่องของการจับจ่ายใช้สอย
นอกจากนี้ ยังมีข้อจำกัดในเรื่องกฎหมาย มีข้อจำกัดในด้านการผลิต และการทำตลาด ซึ่งจากผลกระทบที่เกิดขึ้นดังกล่าวทำให้ตลาดคราฟท์เบียร์ของไทยชะลอตัวตามไปด้วย โดยปัจจุบันตลาดคราฟท์เบียร์ของไทยมีมูลค่าอยู่ที่ประมาณ 2,000 ล้านบาท
สำหรับใครที่อยาพบปะพูดคุยแบบเจาะลึกตลาดคราฟท์เบียร์ และเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ประเภทอื่นๆ อยากให้ลองแวะมางาน PUB & BAR Asia 2024 งานสำหรับธุรกิจผับ บาร์ งานแรกของไทย ระหว่างวันที่ 11-14 ก.ค 2567 ไบเทค บางนา กรุงเทพฯ
ลงทะเบียนเข้าชมงานที่นี่ https://eventpassinsight.co/el/to/PBA2401